วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปลาทู ?





คำถาม

1.ปลาทู คือ อะไร ?

2.ปลาทูมีกี่ชนิด ?

3.ปลาทูมีประโยชน์อย่างไร ?

สืบค้นข้อมูล

1.ปลาทู คือ อะไร ?

- ปลาทู เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่ใช้เรียกปลาทะเลจำพวกหนึ่งในสกุล Rastrelliger ในวงศ์ Scombridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับปลาโอ, ปลาอินทรีและปลาทูน่า มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 200 เมตร ในน่านน้ำไทย พบทั้งหมด 3 ชนิด เป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาหารทะเลหลักของคนไทยมาช้านาน
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้จ้าง ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันมาเป็นที่ปรึกษากรมรักษาสัตว์น้ำ (กรมประมงในปัจจุบัน) เพื่อสำรวจพันธุ์ปลาต่าง ๆ ในประเทศไทย มีหลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระพันธุ์) เป็นผู้ช่วยและวาดภาพปลา ท่านผู้นี้เป็นผู้วาดภาพปลาทูภาพแรกในประเทศไทย ใน พ.ศ. 2468 ไทยนำเรืออวนตังเกจากจีนมาใช้ทำให้จับปลาทูได้มาก ปลาทูที่เหลือทำเป็นปลาทูเค็มส่งไปขายต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จนในภาษาอินโดนีเซียเรียกปลาทูเค็มว่า Ikan siam
พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยนำเครื่องมืออวนลากจากเยอรมันตะวันตกมาใช้และเมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกทำให้การประมงขยายตัวมากขึ้น จนกระทั่งจำนวนปลาทูในอ่าวไทยลดจำนวนลงในที่สุด
ในอดีตเชื่อว่าปลาทูที่จับได้ในอ่าวไทยมาจากเกาะไหหลำ แต่ปัจจุบันพบว่าปลาทูเกิดในอ่าวไทยเป็นปลาผิวน้ำ รวมกันเป็นฝูงบริเวณใกล้ฝั่ง พบเฉพาะบริเวณอุณหภูมิผิวน้ำไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกิน 32.5 % แต่ทนความเค็มต่ำได้ถึง 20.4 % จึงพบในบริเวณน้ำกร่อยได้ [2] ปลาทูวางไข่แบบไข่ลอยน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะลอยน้ำอยู่ได้ ช่วงที่วางไข่คือกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม


2.ปลาทูมีกี่ชนิด ?

- 1.ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น (ชื่อสามัญ: Short-bodied mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger brachysoma) เป็นสายพันธุ์ที่นิยมบริโภคมากที่สุด
2.ปลาลัง หรือ ปลาทูโม่ง (ชื่อสามัญ: Indian mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger kanagurta)
3.ปลาทูปากจิ้งจก (ชื่อสามัญ: Island mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์ Rastrelliger faughni)

3.ปลาทูมีประโยชน์อย่างไร ?

- เนื้อปลาทูมีสารโอเมก้า 3 ค่อนข้างมาก ในเนื้อปลาทู 100 กรัมมีสารโอเมก้า 3 ราว 2-3 กรัม ช่วยลดอัตราการตายจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตีบ และยังลดโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งลดความหนืดของเลือด ลดการอักเสบ ทำให้ความข้นในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

เอกสารอ้างอิง :
ปลาทู. (2552). 15 ธันวาคม 2552, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น